ค้นเจอ 178 รายการ

สามนต,สามนต-,สามนต์

หมายถึง[สามนตะ-] ว. รอบ ๆ, ใกล้เคียง. (ป.).

หญิงสามผัว

หมายถึง(สำ) น. ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน, ใช้พูดตำหนิเหยียดหยามว่าเป็นหญิงไม่ดี.

ข้าวสามเดือน

หมายถึงน. ชื่อข้าวเบาพันธุ์หนึ่งซึ่งได้ผลเร็วกว่าข้าวเบาพันธุ์อื่น เก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓ เดือนหลังจากปลูก.

เจ้าสามสี

หมายถึงน. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ เช่นแสงไฟจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก.

อกสามศอก

หมายถึงว. มีร่างกายกำยำล่ำสัน, แข็งแรง, (ใช้แก่ผู้ชาย).

ชายสามโบสถ์

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ.

พลอยสามสี

หมายถึงน. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, เจ้าสามสี ก็เรียก.

ธงสามชาย

หมายถึงน. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.

กบเต้นสามตอน

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคำจำคิดจิตขวย.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

ภูวนตรัย,ภูวนัตตรัย

หมายถึงน. โลกสาม. (ส.).

วิศางค์

หมายถึงน. ๑ ใน ๒๐ ของเฟื้อง. (ส. วีศ + องฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ