ค้นเจอ 47 รายการ

นา

หมายถึง(แบบ) คำบทบูรณ์ มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น เช่น แลนา.

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

ฉันทลักษณ์

หมายถึง[ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.

บทอัศจรรย์

หมายถึงน. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดยใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.

สุตกวี

หมายถึง[สุตะกะวี, สุดตะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามที่ได้ยินมา. (ป.; ส. ศฺรุต).

ร่าย

หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.

เอกโทษ

หมายถึง[เอกโทด] น. คำที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า.

สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ

หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.

นิพนธ์

หมายถึงน. เรื่องที่แต่งขึ้น, (ราชา) พระนิพนธ์, พระราชนิพนธ์. ก. ร้อยกรองถ้อยคำ, แต่งหนังสือ, (ราชา) ทรงนิพนธ์, ทรงพระนิพนธ์, ทรงพระราชนิพนธ์. (ป., ส. นิพนฺธ).

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

เรียงความ

หมายถึงก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.

รูปแบบ

หมายถึงน. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ