ค้นเจอ 60 รายการ

มหาละลาย

หมายถึงน. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้. (พจน. ๒๔๙๓).

มหาวรรค

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎกคัมภีร์หนึ่ง; วิธีนับปักษ์อย่างหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ รวมเป็น ๕ ปักษ์ เรียกว่า มหาวรรค.

มหาอุด

หมายถึงน. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหารที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.

มหาอุปรากร,อุปรากร

หมายถึงน. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจังหนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. (อ. grand opera).

มหาอุปราช

หมายถึง[มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด] (โบ) น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.

มหากาฬ

หมายถึงน. ชื่อยาไทยชนิดหนึ่งสำหรับแก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ลิ้นเปื่อย.

มหาจักร

หมายถึงน. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, พฤหัสบดีจักร ก็ว่า.

มหาดไทย

หมายถึงน. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.

มหาดเล็กรายงาน

หมายถึง(โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น; ชื่อตำแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.

มหาไถ่

หมายถึงน. ผู้โปรดให้พ้นบาป หมายถึง พระเยซู.

มหาธาตุ

หมายถึงน. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง.

มหานิล

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งในสกุล Hedychium วงศ์ Zingiberaceae, ว่านมหานิล ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ