ค้นเจอ 53 รายการ

บีเยศ

หมายถึง(กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมืองบนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).

บง

หมายถึง(โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา. (ยวนพ่าย).

กินบุญเก่า

หมายถึง(สำ) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).

คะใน

หมายถึง(โบ) บ. ข้างใน, ในกลอนเขียนเป็น คใน เช่น ปางพระไปนอน คในพนานต์ พระเอาภูบาล ไปสมกัลยา. (สมุทรโฆษ).

จงกรมแก้ว

หมายถึงน. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์).

เกศพ,เกศวะ

หมายถึง[-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).

ปัทมปาณี

หมายถึงน. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่งหรือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว.

ไสยาสน์

หมายถึง[ไสยาด] ก. นอน, เรียกพระพุทธรูปในท่านอนว่า พระไสยาสน์ หรือ พระพุทธไสยาสน์, เรียกพระพุทธรูปปางนอนว่า พระปางไสยาสน์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ป. เสยฺย (นอน) + อาสน (นั่ง)].

ห้ามพระแก่นจันทน์

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.

ดำนาน

หมายถึง(แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดำนานพระมหาแพศยันดรธรรมเทศนา. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตำนาน).

ตำนาน

หมายถึงน. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.

กำแพงเขย่ง

หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ