ค้นเจอ 7,005 รายการ

เวณะ

หมายถึงน. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).

สวนะ

หมายถึงน. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรวณ).

ปัจเวกขณ์

หมายถึง[ปัดจะเวก] (แบบ) น. การเห็นลงจำเพาะ, การพิจารณา. (ป. ปจฺจเวกฺขณ).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

สมีระ

หมายถึง[สะมี-] น. ลม. (ป., ส. สมีรณ).

วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์

หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).

อวิญญาณก,อวิญญาณก-

หมายถึง[อะวินยานะกะ-, อะวินยานนะกะ-] ว. ไม่มีวิญญาณ, ไม่มีชีวิต, ไม่มีจิตใจ. (ป.).

อนิละ,อนิล,อนิล-

หมายถึง[อะนิละ-] น. ลม. (ป., ส.).

คณนะ,คณนา

หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).

ทิพยจักษุญาณ

หมายถึงน. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).

ฤกษณะ

หมายถึง[รึกสะนะ] น. การดู, การเห็น. (ส. อีกฺษณ; ป. อิกฺขณ).

อุปาณ,อุปาณ-

หมายถึง[อุปานะ-] ว. เปรียบเทียบ เช่น อุปาณวาจา ว่า การกล่าวเปรียบเทียบ. (ปาเลกัว).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ