ค้นเจอ 132 รายการ

แม่บท

หมายถึงน. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรำ, แม่ท่า ก็เรียก.

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

จาตุร,จาตุร-

หมายถึง[จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

อาราธนาพระปริตร

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดมนต์ โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า วิปตฺติปฏิพาหาย ... ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

รากศัพท์

หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๘ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น วัฒน์ วุฒิ.

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

อห

หมายถึง[อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.

หมายถึงคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ