ค้นเจอ 47 รายการ

บุถุชน

หมายถึงน. ปุถุชน, คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).

ธุดงคญ,ธุดงค์

หมายถึงน. องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).

นิรินธนพินาศ

หมายถึง[-รินทะนะ-] น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์).

สมณ,สมณ-,สมณะ

หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).

ลุโสดา

หมายถึงก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.

อนุสัย

หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).

หมด

หมายถึงก. สิ้น เช่น หมดลม หมดกิเลส หมดปัญญา, ไม่มี เช่น เงินหมด ฝนหมด, จบ เช่น หมดรายการ. ว. ไม่มีอะไรเหลือ เช่น กินหมด ใช้หมด.

โยค,โยค-,โยคะ

หมายถึง[โยคะ-] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).

ไตรวิชชา

หมายถึง[-วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์ ๑ วิชชารู้ในทางทำให้สิ้นกิเลส ๑.

พ้น

หมายถึงก. อาการที่ผ่านหรือหลุดเป็นต้นออกไปอยู่นอกเขตหรือเลยที่กำหนดไว้ เช่น พ้นอันตราย พ้นกิเลส พ้นทุกข์ พ้นเกณฑ์ พ้นตัว พ้นบ้าน. ว. นอกเขตออกไป เช่น ข้ามพ้น บินพ้น ผ่านพ้น หลุดพ้น.

บุคลาธิษฐาน

หมายถึง[บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.

สังโยชน์

หมายถึงน. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโชน; ส. สํโยชน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ