ค้นเจอ 34 รายการ

เจียม

หมายถึงน. เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทำด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจำพวกกวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน. (เทียบ ข. เจียม ว่า แกะ).

สมัน

หมายถึง[สะหฺมัน] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Cervus schomburgki ในวงศ์ Cervidae ขนาดเล็กกว่ากวางป่า ขนสีนํ้าตาล หางสั้น เขาแตกแขนงมากกว่ากวางชนิดอื่น เป็นกวางที่มีเขาสวยงามมาก และมีถิ่นกำเนิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าสงวน ซึ่งสูญพันธุ์แล้ว, เนื้อสมัน ก็เรียก.

กิเลน

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตำราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง.

โกรด

หมายถึง[โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกำลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.

กระหริ่ง

หมายถึงน. บ่วงหวายสำหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.

ละองละมั่ง

หมายถึงน. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด Cervus eldi ในวงศ์ Cervidae ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.

กวางป่า

หมายถึงน. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก.

มะเดื่อ

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เช่น มะเดื่อปล้อง (F. hispida L.) ใบสากคาย, มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (F. racemosa L.) ใบเกลี้ยง ผลกินได้, มะเดื่อกวาง หรือ ลิ้นกระบือ (F. callosa Willd.) ใบแข็งหนา.

กระจง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).

เรื้อน

หมายถึงน. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขื้เรื้อนกุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทำให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ