ค้นเจอ 45 รายการ

ปัจฉิมยาม

หมายถึง[ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.

ยืนยาม

หมายถึงก. ยืนเฝ้ายาม.

พยายาม

หมายถึง[พะยา-] ก. ทำโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).

จับยาม

หมายถึงก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา.

วยายาม

หมายถึงน. พยายาม. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).

หยามน้ำหน้า

หมายถึงก. ดูหมิ่นเกียรติ, ดูหมิ่นศักดิ์ศรี.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

ยามโยค

หมายถึงน. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์.

ยามะ

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).

ยามักการ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.

ยามา

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.

ยามิก

หมายถึงน. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ