ตัวกรองผลการค้นหา
ภาษาศาสตร์
หมายถึงน. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.
ดำพอง,ดำโพง
หมายถึง(แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือหน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดำโพง. (ม. คำหลวง มหาราช).
ประชากรศาสตร์
หมายถึงน. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
ลิ
หมายถึงก. แตกบิ่นไปเล็กน้อย, อาการที่ของเป็นปุ่มเป็นแง่แตกบิ่นไปเล็กน้อย, เช่น พระกรรณพระพุทธรูปลิไปข้างหนึ่ง ขอบถ้วยลิไปนิดหนึ่ง.
กันเมียง
หมายถึงน. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คำหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
เงี่ยง
หมายถึงน. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.
ซอกแซก
หมายถึงก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม. ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหามากิน เช่น กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.
สัปดน
หมายถึง[สับปะดน] ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอกแบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน.
หยัก,หยัก ๆ
หมายถึงก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทำให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.
เกี่ยว
หมายถึงก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้นเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.