ค้นเจอ 1,811 รายการ

กังก้า

หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).

กระเดื่อง

หมายถึงก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน); กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.

ผู้ชายพายเรือ

หมายถึง(สำ) น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. (มิตรสภา).

แกระ

หมายถึง[แกฺระ] น. เครื่องมือชนิดหนึ่งสำหรับตัดรวงข้าว ใช้ทางปักษ์ใต้. ก. ตัด, แทง, เช่น กฤชกรดแกระทรวง. (ขุนช้างขุนแผน).

ฟ้าเคืองสันหลัง

หมายถึง(สำ) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่เกิดจากอำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึงรำพัน. (ขุนช้างขุนแผน).

สินธุ์

หมายถึง(กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี.

ละครเล็ก

หมายถึงน. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็กเรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.

สูด

หมายถึงก. หายใจเข้าไปโดยแรง เช่น สูดลมหายใจ สูดอากาศ; เดินหมากรุกข้ามตาตรงไปโดยไม่เป็นไปตามกำหนดที่วางไว้ (ใช้เฉพาะเม็ดและขุน); ส่งให้สูง.

กุย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. หมัด, กำปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี. (ขุนช้างขุนแผน).

จึ้ง

หมายถึงน. เหล็กสำหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง. (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).

ท่องสื่อ

หมายถึงน. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).

บังเหตุ

หมายถึง(โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทำให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ