ค้นเจอ 269 รายการ

กะเล่อกะล่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

เว้ย

หมายถึงว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.

ป่า

หมายถึงน. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตำบลที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มาจากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคำว่า ตีป่า.

โปรด

หมายถึง[โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความเมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรดข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).

ละครร้อง

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

สากล

หมายถึงว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคำ “ระหว่างประเทศ” ก็มี เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).

งอน

หมายถึงโกรธกะบึงกะบอน, โกรธสะบัดสะบิ้ง

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

สุกก่อนห่าม

หมายถึง(สำ) ว. ที่ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน) เช่น ใครเขาจะเอาเยี่ยงอย่างอีซนซุก อีสุกก่อนห่าม มันมาอยู่สักกี่วันกี่เดือน นี่มันจะมาตั้งเตือนต่อก่อความให้ขุ่นไปทั้งบ้าน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

จก

หมายถึงก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ