ค้นเจอ 371 รายการ

ลงราก

หมายถึงก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้างส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.

ผ้านุ่ง

หมายถึงน. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.

ทรงลังกา

หมายถึงว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.

วิกาล,วิกาล-

หมายถึง[วิกาน, วิกานละ-] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).

อุตรผลคุนี,อุตตรผลคุนี

หมายถึง[อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.

ลมว่าว

หมายถึงน. ลมที่พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ตอนต้นฤดูหนาว, ลมเล่นว่าวเดี๋ยวนี้คือลมตะเภา ซึ่งพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือในกลางฤดูร้อน.

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

เอ๋ย

หมายถึงว. คำลงท้ายชื่อหรือถ้อยคำเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความเอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คำที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคำกลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ยกาดำ รถเอ๋ยรถทรง.

ข้อ

หมายถึงน. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อนหนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะบางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.

กระเบื้องกาบกล้วย

หมายถึงน. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.

ก่อน

หมายถึงว. เดิม, เริ่ม, ลำดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคำนามบอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคำนามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคำกริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณีหมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ