ค้นเจอ 302 รายการ

ปลดออก

หมายถึง(กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษปลดออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.

วาณิช,วาณิชกะ

หมายถึง[วานิด, วานิดชะ-] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า เป็น พ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).

ขัช,ขัชกะ

หมายถึง[ขัด, ขัดชะกะ] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว เช่น ตั้งขัชกโภชนาหาร. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ขชฺช, ขชฺชก).

ชทึง

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).

ชวาลา

หมายถึง[ชะ-] (โบ) น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งหรือแขวน มีรูปเป็นหม้อกลม สำหรับใส่น้ำมัน มีพวยยื่นมาใช้ใส่ไส้จุดไฟ.

หาเหตุ

หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.

อาชญาบัตร

หมายถึง[อาดยาบัด, อาดชะยาบัด] (กฎ) น. ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้ประกอบการอาชีพบางอย่างตามเขตที่กำหนด.

ชปโยค

หมายถึง[ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).

บรรณศาลา

หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).

ชคดี

หมายถึง[ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).

สุขศาลา

หมายถึง[สุกสาลา] น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, ปัจจุบันเรียกว่า สถานีอนามัย.

อาชวะ

หมายถึง[อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว; ส. อารฺชว).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ