ค้นเจอ 346 รายการ

อำพน

หมายถึง[-พน] ว. มาก, ดาษดื่น, ล้วน, เช่น อำพนไปด้วยแก้วมณี; น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ. (จารึกสยาม).

เสน

หมายถึงน. สารประกอบประเภทออกไซด์ของตะกั่ว มีสูตร Pb3O4 ลักษณะเป็นผงละเอียด สีแดงเข้ม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสีทาและทำแก้ว, ตะกั่วแดง ก็เรียก. (อ. red lead, minium). (ดู ตะกั่วแดง).

กระเปาะ

หมายถึงน. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ); (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.

เสียใจ

หมายถึงก. ไม่สบายใจเพราะมีเรื่องไม่สมประสงค์หรือผิดประสงค์ เช่น เด็กเสียใจเมื่อรู้ว่าทำผิด; (วรรณ) คลุ้มคลั่ง เช่น กลัวศัตรูฝ่ายหน้า หลังพระเสียใจข้า ดุจดับแก้วสองดวง. (ลอ).

รู้จัก

หมายถึงก. เคยพบเคยเห็นและจำได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.

เชิง

หมายถึงน. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกำแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.

แบเรียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอมละลายที่ ๗๑๔ °ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรมสีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).

กระตั้ว

หมายถึงน. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ลักษณะคล้ายนกแก้วแต่ตัวโตกว่า พบในทวีปออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง เช่น กระตั้วหงอนเหลือง (Cacatua galerita) กระตั้วดำ (Probosciger aterrimus).

ค่อม

หมายถึงน. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

ขี้ยอก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.

ไม้เส้า

หมายถึงน. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ