ค้นเจอ 239 รายการ

ชะเอม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum. ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทำยา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ (G. uralensis Fish.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).

ตับเต่า

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้นํ้าชนิด Mimulus orbicularis Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ใบกลม ดอกสีม่วงอ่อน ใบใช้เป็นผัก, ผักอีแปะ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้นํ้าชนิด Hydrocharis dubia (Blume) Backer ในวงศ์ Hydrocharitaceae ลำต้นกลม ดอกสีขาว ใบกินได้. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Boletaceae ขึ้นตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ยืนต้นหลายชนิด ดอกเห็ดใหญ่ สีนํ้าตาลเข้ม ด้านล่างมีรูสีเหลืองอมเขียวหม่นไปจนถึงสีนํ้าตาลอมเขียวหม่น โคนก้านใหญ่ กินได้.

ผกากรอง

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลำต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link. ลำต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ; ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลำต้นกลม ดอกสีม่วง.

ส้ม

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยวหรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลืองเจือแดง เรียกว่า สีส้ม.

กระโดงแดง

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลำต้นแดงคลํ้า ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.

กระ

หมายถึงใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.

กระดูกอึ่ง

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.

ขัณฑสกร

หมายถึง[ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

เตย

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Pandanus วงศ์ Pandanaceae ขึ้นเป็นกอก็มี โดดเดี่ยวก็มี ใบแคบยาวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เช่น เตยทะเล (P. tectorius Sol. ex Parkinson var. litoralis Martelli) ต้นเพศผู้ของเตยชนิดนี้เรียก ลำเจียก, เตยด่าง (P. tectorius Sol. ex Parkinson) ต้นเพศผู้เรียก การะเกด, เตยสานเสื่อ (P. kaida Kurz) ใบใช้ทำใบเรือกระแชงและสานเสื่อ, เตยหอม (P. amaryllifolius Roxb.) ใบใช้ปรุงแต่งกลิ่นและสีในการทำขนมหรืออาหารบางชนิด.

กะทกรก

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลำต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, นํ้าใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.

กระด้าง

หมายถึงน. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดำ แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดำ, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลำต้นที่ง่ามใบ ตำราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับน้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ