ค้นเจอ 317 รายการ

กะ

หมายถึงน. เครื่องหมายบอกทำนองสวด เช่น กะมหาชาติคำหลวง, ทำนองสวด เช่น สวดกะ; รอบการเข้าเวร, ระยะเวลาที่ผลัดเปลี่ยนกันทำงาน, เช่น กะแรก กะที่ ๒. ก. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณ.

สำทับ

หมายถึงก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.

ลหุกาบัติ

หมายถึง[ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).

เล่า

หมายถึงก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.

ลาง

หมายถึงน. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุมตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.

ดัชนี

หมายถึงน. บัญชีคำเรียงตามลำดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือเล่ม รวบรวมคำสำคัญ ๆ ซึ่งมีกล่าวถึงในหนังสือเล่มนั้น โดยบอกเลขหน้าที่มีคำนั้น ๆ ปรากฏอยู่เพื่อสะดวกแก่การค้น, ดรรชนี ก็ใช้.

อาการนาม

หมายถึง[อาการะนาม] (ไว) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.

จงอร

หมายถึง[-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).

ฆ้องโหม่ง

หมายถึงน. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอก “ทุ่ม”.

สัญญาณ

หมายถึงน. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็นสัญญาณให้พระลงโบสถ์.

เร่ง

หมายถึงก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้แต่งตัวไปโรงเรียน.

หัวอ่อน

หมายถึงว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ