ค้นเจอ 303 รายการ

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

เศวตฉัตร

หมายถึง[สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).

ภูตรูป

หมายถึง[พูตะรูบ] น. รูปที่เกิดแล้ว ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ซึ่งคุมกันเข้าเป็นมนุษย์และสัตว์. (ป., ส.).

จิต,จิต-

หมายถึง[จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).

หัสตะ,หัฏฐะ,หัฏฐะ

หมายถึง[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-

หมายถึง[อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

อนุตร,อนุตร-

หมายถึง[อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).

กฤดีกา,กฤตยฎีกา

หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).

ทัสนานุตริยะ

หมายถึง[ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอันประเสริฐ เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).

จิตนิยม

หมายถึง[จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).

นั่งขัดสมาธิ

หมายถึง[-สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ