ค้นเจอ 365 รายการ

แฉะ

หมายถึงก. เปียกหรือชุ่มนํ้าอยู่เสมอ เช่น ถนนแฉะ ตาแฉะ, เปียกหรือชุ่มนํ้าเกินไป เช่น ข้าวแฉะ; ไม่รีบร้อน, เฉื่อยชา, เช่น ทำงานแฉะ.

ทรพี

หมายถึง[ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).

ไม้ขัดหม้อ

หมายถึงน. ไม้ทำเป็นชิ้นบาง ๆ ยาวประมาณ ๑ ศอก ใช้สอดขัดที่หูและฝาหม้ออะลูมิเนียมในเวลาเช็ดน้ำข้าว.

ฉาตกภัย

หมายถึง[ฉาตะกะไพ] น. ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้ง, ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง. (ป. ฉาต, ฉาตก, ว่า หิว, อิดโรยเพราะการอดอาหาร).

ก้อน

หมายถึงน. คำบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จำนวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).

เรื้อ

หมายถึงก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้วงอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียกพืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ.

เปียก

หมายถึงก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียกข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.

ละมุนละไม

หมายถึงว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.

แช่

หมายถึงก. จุ้มหรือใส่ลงไปในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น แช่นํ้า แช่ข้าว แช่แป้ง, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จำเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้.

ต้มเปอะ

หมายถึงน. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้หรือใบขี้เหล็กเป็นต้น คล้ายแกงขี้เหล็ก แต่ไม่ใส่กะทิ ใส่ข้าวคั่วกับปลาร้าผสมด้วย.

จาน

หมายถึงน. ภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนามเรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน, เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย.

เบ็ดเสร็จ

หมายถึง[เบ็ดเส็ด] ว. รวมด้วยกัน, รวมหมดด้วยกัน, เช่น รวมเบ็ดเสร็จ ราคาเบ็ดเสร็จ, ครบถ้วนทุกรูปทุกแบบ เช่น สงครามเบ็ดเสร็จ; (โบ) เรียกภาษีสิ่งของต่าง ๆ นอกจากข้าวที่ส่งออกไปนอกประเทศว่า ภาษีเบ็ดเสร็จ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ