ค้นเจอ 338 รายการ

วัฒนธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.

ชุดสากล

หมายถึงน. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.

กิโมโน

หมายถึงน. เครื่องแต่งกายประจำชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มีลักษณะเช่นนั้น.

ประพนธ์

หมายถึงน. คำร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).

วรรณศิลป์

หมายถึงน. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.

พวงมาลา

หมายถึงน. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.

เสนากุฎ

หมายถึง[เส-นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.

จิ้มก้อง

หมายถึงก. เจริญทางไมตรีโดยนำเครื่องบรรณาการไปมอบให้ เช่น แต่งทูตออกไปจิ้มก้อง. (พงศ. ร. ๓), (ปาก) โดยปริยายหมายถึงนำสิ่งของเป็นต้นไปกำนัลเพื่อเอาใจ.

กระลอก

หมายถึง[-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคำ กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.

สมฤติ

หมายถึง[สะมะรึติ] น. ชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังคัมภีร์พวกศรุติ เช่น คัมภีร์เวทางคศาสตร์ ศูตระ รามายณะ มหาภารตะ ปุราณะ ธรรมศาสตร์. (ส.).

กบูร

หมายถึง[กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.

จุลวงศ์

หมายถึง[จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ