ค้นเจอ 297 รายการ

ขุทกนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.

วรรณยุกต์,วรรณยุต

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

ทมิฬ

หมายถึง[ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).

ลูกทุ่ง

หมายถึงน. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดในท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียกเพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.

ศัพท,ศัพท-,ศัพท์

หมายถึง[สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).

กัณฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

บท,บท,บท-,บท-

หมายถึง(แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).

เรียบเรียง

หมายถึงก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบเรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.

คุณบท

หมายถึง[คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง”. (ศิริวิบุลกิตติ).

อัพภาส

หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ