ค้นเจอ 251 รายการ

เตียว

หมายถึงน. ลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิงขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง. (พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).

ขลุบ

หมายถึง[ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สำหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมันเหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).

กะลุมพี

หมายถึงน. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).

หมูแนม

หมายถึงน. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือโขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรสเปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วยข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.

หรดาลแดง

หมายถึงน. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือเป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจำเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทำให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทำกระสุนปืนส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).

สุก

หมายถึงก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว เช่น ทองเนื้อสุกดี.

เกี้ยว

หมายถึงน. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย สำหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง). ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.

กรวย

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจำปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.

แก้ว

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสดเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทำด้ามมีดและไม้ถือ. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. นิยมกินดิบ ๆ หรือดอง. (๓) ส้มแก้ว. (ดู ส้ม ๑). (๔) (ถิ่น-พายัพ) ต้นพิกุล. (ดู พิกุล).

แซงแซว

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดำหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก (D. remifer) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (D. paradiseus), ๒ ชนิดหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.

ขุนทอง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคำ.

กันเกรา

หมายถึง[-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ