ค้นเจอ 238 รายการ

เตย

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Pandanus วงศ์ Pandanaceae ขึ้นเป็นกอก็มี โดดเดี่ยวก็มี ใบแคบยาวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เช่น เตยทะเล (P. tectorius Sol. ex Parkinson var. litoralis Martelli) ต้นเพศผู้ของเตยชนิดนี้เรียก ลำเจียก, เตยด่าง (P. tectorius Sol. ex Parkinson) ต้นเพศผู้เรียก การะเกด, เตยสานเสื่อ (P. kaida Kurz) ใบใช้ทำใบเรือกระแชงและสานเสื่อ, เตยหอม (P. amaryllifolius Roxb.) ใบใช้ปรุงแต่งกลิ่นและสีในการทำขนมหรืออาหารบางชนิด.

คุณ,คุณ,คุณ-

หมายถึง[คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป; (ไว) คำแต่งชื่อ. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

จำปา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจำปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

บัว

หมายถึงน. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.

กะ-

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

กะ

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ