ค้นเจอ 297 รายการ

ปศุ

หมายถึง[ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคำ สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).

นฤพาน

หมายถึง[นะรึ-] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน. (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).

กลูน,กลูน์

หมายถึง[กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่น ทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).

กรุง

หมายถึง[กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).

กุสุมิตลดาเวลลิตา

หมายถึง[กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๖ คณะ คือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).

สบถ

หมายถึง[สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).

บ้า

หมายถึงว. เสียสติ, วิกลจริต, สติฟั่นเฟือน, หลงใหลหรือมัวเมาในสิ่งนั้น ๆ จนผิดปรกติ เช่น บ้ากาม บ้ายศ บ้าฟุตบอล; อาการที่สัตว์บางชนิดเช่นหมาเป็นโรคกลัวนํ้า เรียกว่า หมาบ้า.

ตาลุชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ตาลวฺย).

กระทึง

หมายถึงน. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุมกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง

ฉาทนะ

หมายถึง[ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกำบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).

สยาม,สยาม-

หมายถึง[สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.

กรมการ

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ