ค้นเจอ 252 รายการ

เรื้อน

หมายถึงน. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขื้เรื้อนกุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทำให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.

หา

หมายถึงก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.

เรือรูปสัตว์

หมายถึงน. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.

เกี้ยว

หมายถึงน. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย สำหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง). ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

กระทุ

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

วัสสานฤดู

หมายถึง[วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).

ศก

หมายถึงน. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).

ปะการัง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตายทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือกปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.

กบาล

หมายถึง[กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).

กัลป,กัลป-,กัลป์

หมายถึง[กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ