ค้นเจอ 841 รายการ

ปิดคดี

หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์และจำเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคำพิพากษา.

เปิดคดี

หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจำเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนำพยานเข้าสืบ.

ไปรษณียนิเทศ

หมายถึง[ไปฺรสะนียะนิเทด, ไปฺรสะนีนิเทด] (กฎ) น. สมุดกฎข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศว่าด้วยการไปรษณีย์ทั่วไป.

ไปรษณียภัณฑ์

หมายถึง[ไปฺรสะนียะพัน, ไปฺรสะนีพัน] น. ข่าวสารหรือสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาดเล็กและมีนํ้าหนักน้อยกว่าพัสดุไปรษณีย์; (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับหนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็คไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นำมาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.

ผู้รับประโยชน์

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้ตามสัญญาประกันภัย.

ผู้รับเรือน

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลที่เข้าทำสัญญาคํ้าประกันผู้คํ้าประกันอีกชั้นหนึ่ง.

ผู้สนับสนุน

หมายถึง(กฎ) น. ผู้กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม.

ผู้สร้างสรรค์

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง.

ผู้อยู่ในอุปการะ

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมาโดยจำเป็นต้องมีอุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดความอุปการะ.

พระราชบัญญัติ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.

พระราชาคณะ

หมายถึง(กฎ) น. พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งและสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ