ค้นเจอ 3,016 รายการ

กตเวที

หมายถึง[กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].

ทัศนศึกษา

หมายถึงก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วยการดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.

ติเรือทั้งโกลน

หมายถึง(สำ) ก. ตำหนิสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จหรือที่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร, ติพล่อย ๆ ไปเสียก่อนที่จะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร.

อวิชชา

หมายถึง[อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.).

ตรัสรู้

หมายถึง[ตฺรัดสะ-] ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า); โดยปริยายหมายความว่า รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.

ผู้สืบตระกูล

หมายถึงน. ลูกหลานที่เป็นชายซึ่งสืบวงศ์สกุลโดยไม่ขาดสาย.

สู้ครู

หมายถึงก. มีความรู้พอ ๆ กับครูหรือเหนือกว่า เช่น ความรู้ของเขาสู้ครูได้; (โหร) เรียกคนที่ดวงชะตามีพฤหัสอยู่ในราศีสิงห์มีอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนว่า พฤหัสสู้ครู ซึ่งหมายความว่า มีใจกล้า มีใจเข้มแข็งพอที่จะสู้กับผู้รู้หรือผู้ชำนาญชั้นครูได้.

อาจารย์

หมายถึงน. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).

เปรียญ

หมายถึง[ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.

สุภาพชน

หมายถึงน. ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย, ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน พูดจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ, เช่น สุภาพชนย่อมไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด.

เจื้อยแจ้ว

หมายถึงว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ.

ปฏิคม

หมายถึงน. ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ