ค้นเจอ 303 รายการ

ขับซอ

หมายถึง(ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).

ทยา

หมายถึง[ทะ-] ว. ดี, สำคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.

ตายดาบหน้า

หมายถึงก. มุ่งเสี่ยงไปข้างหน้า, เสี่ยงหนีเหตุการณ์ร้ายปัจจุบันไปเผชิญชีวิตข้างหน้า, มีทิฐิมานะที่จะต่อสู้กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า, เสี่ยงทำไปก่อน แล้วค่อยคิดแก้เหตุการณ์ภายหลัง.

เบญจโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

ปึ่งชา

หมายถึงว. ทำทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่ง ก็ว่า; วางท่าเฉยเมยอย่างไว้ยศ เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาหาน้อยไม่. (สังข์ทอง).

ถนิม

หมายถึง[ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.

พลอยสามสี

หมายถึงน. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, เจ้าสามสี ก็เรียก.

นวโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

กระบวนการ

หมายถึงน. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. process).

อสัตถพฤกษ์,อัสสัตถพฤกษ์

หมายถึง[อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

จู้

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ