ค้นเจอ 284 รายการ

สำเนา

หมายถึงน. ข้อความหรือภาพเป็นต้นที่ผลิตซํ้าจากต้นแบบหรือต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกจำนวนแผ่นหรือชุดที่ผลิตซํ้าจากต้นแบบหรือต้นฉบับ. ก. คัดหรือถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับ เช่น ก่อนส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ลูกค้า ควรสำเนาไว้ก่อน.

สมจริง

หมายถึงว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดงบทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.

สมณสารูป

หมายถึงว. ที่สมควรแก่พระ (ใช้แก่กิริยามารยาทเป็นต้น). น. กิริยามารยาทเป็นต้นที่สมควรแก่สมณะ เช่น ภิกษุพูดจาควรมีสมณสารูป. (ป. สมณสารุปฺป).

ลับ

หมายถึงว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.

กรินทร์

หมายถึงน. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).

วุ่น

หมายถึงก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทำให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทำให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน.

สงวนท่าที,สงวนทีท่า

หมายถึงก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.

คัน

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกให้อยากเกา, อาการที่มือหรือปากอยู่ไม่สุข คือ อยากทำหรือพูดในสิ่งที่ไม่ควร เรียกว่า มือคัน ปากคัน, อาการที่ให้รู้สึกอยากด่าอยากตีเป็นต้น เรียกว่า คันปาก คันมือ คันเท้า.

ปัญญาอ่อน

หมายถึงน. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทำให้เด็กมีความสามารถจำกัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

กด

หมายถึงก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).

จังหวะ

หมายถึงน. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ