ค้นเจอ 2,155 รายการ

บาง

หมายถึงว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.

แล้วแต่

หมายถึงว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.

ทุจริต

หมายถึง[ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).

หมูในเล้า

หมายถึง(สำ) น. สิ่งที่อยู่ในเงื้อมมือ.

พ่น

หมายถึงก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, อาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.

มาตราพฤติ

หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.

หก

หมายถึงก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดยปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.

ปฏิภาคนิมิต

หมายถึงน. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).

วรรธกะ

หมายถึง[วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทำให้เจริญ; ป. วฑฺฒก).

หุง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทำให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.

ขำ

หมายถึงน. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).

วัฒกะ

หมายถึง[วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วฑฺฒก; ส. วรฺธก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ