ค้นเจอ 309 รายการ

ตะโหงก

หมายถึง[-โหฺงก] น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสำหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโกก ก็เรียก.

โพชฌงค์

หมายถึง[โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).

ตีแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. ทำดินโคลนให้เป็นแอ่งสำหรับนอนเกลือก (ใช้แก่ควาย หมู); อาการที่ปลากัดต้นไม้เช่นต้นข้าวสำหรับวางไข่; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นอนตีแปลง.

ปาว ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.

กระดึง

หมายถึงน. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.

ให้จงได้,ให้ได้

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับกำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.

สมบุกสมบัน

หมายถึงว. ทนลำบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบันจึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.

ลิ้นทอง

หมายถึงน. ชื่อนกชนิดหนึ่งตัวขนาดนกกรอด สีเหลืองหม่น ที่หัวมีสีเหลืองจัด. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ที่พูดจาคล่องแคล่ว ไพเราะน่าฟัง.

วิญญาณกทรัพย์

หมายถึง[วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.

พลการ

หมายถึง[พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อำเภอใจ, เช่น ทำโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).

เกก

หมายถึงว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.

งูกลืนหาง,งูกินหาง,งูกินหาง

หมายถึงน. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ