ค้นเจอ 267 รายการ

เสวียน

หมายถึง[สะเหฺวียน] น. ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยหญ้า หวาย หรือฟาง เป็นต้น ถักหรือมัดเป็นวงกลม มักมีหู ๒ ข้างสำหรับหิ้ว ใช้รองก้นหม้อที่หุงต้มด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่าน, ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลม สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ มีพ้อมข้าวเป็นต้น.

เป๋าฮื้อ

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Haliotis วงศ์ Haliotidae เปลือกเป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจำนวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็นแถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทำเป็นเครื่องประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจำนวนน้อยในน่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.

โพระดก

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Megalaimidae ตัวอ้วนป้อมสีเขียว หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ปากหนาแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่น โพระดกธรรมดา (Megalaima lineata) โพระดกหูเขียว (M. faiostricta) โพระดกคอสีฟ้า (M. asiatica).

กระหมวด

หมายถึงน. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.

ท้องขาว

หมายถึงน. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.

ลิ่ม

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สำหรับจีมหรือขัดให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตกแยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

จตุปาริสุทธิศีล

หมายถึง[จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

อ้น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลำตัวกลมอ้วนป้อมสีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius).

โพล่

หมายถึงน. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน.

สลักเพชร

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กสำหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบเรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรงตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทำให้ขากางออกได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ