ค้นเจอ 349 รายการ

บำนาญ

หมายถึงน. เงินตอบแทนที่ได้ทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบำนาญ; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน.

สุขลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น สร้างบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส้วมที่ถูกสุขลักษณะย่อมไม่แพร่กระจายเชื้อโรค.

บำเพ็ญ

หมายถึงก. ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญพรต.

ดุษฎีมาลา

หมายถึงน. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.

รัฐทูต

หมายถึง[รัดถะทูด] น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต. (อ. envoy).

กฎหมายระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).

วินย,วินย-,วินัย

หมายถึง[วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).

หูป่าตาเถื่อน

หมายถึงว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.

พิทยาธร

หมายถึงน. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).

คณะรัฐมนตรี

หมายถึง(กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.

ปลดออก

หมายถึง(กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษปลดออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.

กรมท่า

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า. ว. สีขาบ, สีนํ้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ