ค้นเจอ 28 รายการ

แปรญัตติ

หมายถึงก. แก้ถ้อยคำหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับหลักการแล้ว.

ข้อความ

หมายถึงน. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง.

จุณณียบท

หมายถึง[จุนนียะบด] (แบบ) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).

เอกรรถประโยค

หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.

พยติเรก

หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).

พิสดาร

หมายถึง[พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).

บรมัตถ์

หมายถึง[บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริงที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นำหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).

ปรมัตถ์

หมายถึง[ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.).

ทด

หมายถึงก. กันไว้, กั้นไว้, ทำให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทำนบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคำใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็นตอบแทน, บางทีใช้ ทด คำเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

แทรก

หมายถึง[แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือสอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดำ แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปในระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.

กำดัด

หมายถึงว. กำลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กำหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ