ค้นเจอ 65 รายการ

ปสูติ

หมายถึง[ปะสูด] น. ประสูติ. (ป.; ส. ปฺรสูติ).

ประสูติ,ประสูติ-

หมายถึง[ปฺระสูด, ปฺระสูติ-] (ราชา) น. การเกิด; การคลอด. ก. เกิด; คลอด. (ส. ปฺรสูติ; ป. ปสูติ).

สูกษมะ

หมายถึง[สูกสะมะ] ว. สุขุม, ละเอียด. (ส. สูกฺษม; ป. สุขุม).

ใหญ่น้อย

หมายถึงว. บรรดา, ทั้งหลาย, เช่น สัตว์ใหญ่น้อยวิ่งหนีไฟป่า.

เบรียน

หมายถึง[บะเรียน] (โบ) ก. ให้เรียน, สอน, เช่น อาจเบรียนภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย. (จารึกสยาม).

คำคู่ความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำฟ้อง คำให้การหรือคำร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.

สูรย,สูรย-

หมายถึง[สูระยะ-] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ส.; ป. สุริย).

ถ้อยคำสำนวน

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.

ไกรสิทธิ

หมายถึง[ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คำหลวง มัทรี).

บรรดา

หมายถึง[บัน-] ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า.

สุกร

หมายถึง[สุกอน] น. หมู (มักใช้เป็นทางการ) เช่น เนื้อสุกร สุกรชำแหละ. (ป.; ส. ศูกร, สูกร).

ศาลสูงสุด

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่อยู่ในลำดับสูงสุดเหนือศาลทั้งหลายในสายเดียวกัน คดีที่ศาลสูงสุดพิจารณาพิพากษาแล้วถือว่าถึงที่สุด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ