ค้นเจอ 28 รายการ

สูกษมะ

หมายถึง[สูกสะมะ] ว. สุขุม, ละเอียด. (ส. สูกฺษม; ป. สุขุม).

สูรย,สูรย-

หมายถึง[สูระยะ-] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ส.; ป. สุริย).

ดูชา

หมายถึงก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความเราจงมิด. (ลอ.)

ไกรสิทธิ

หมายถึง[ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คำหลวง มัทรี).

สุกร

หมายถึง[สุกอน] น. หมู (มักใช้เป็นทางการ) เช่น เนื้อสุกร สุกรชำแหละ. (ป.; ส. ศูกร, สูกร).

สูร

หมายถึง[สูน, สูระ] น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; พระอาทิตย์. (ป., ส.). ว. กล้าหาญ, เข้มแข็ง. (ป.; ส. ศูร).

ข่า

หมายถึงน. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).

ข้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คำหลวง กุมาร).

พิสูจน์

หมายถึงก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริงในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).

เจ้าไทย

หมายถึง(โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).

ถวายข้าวพระ

หมายถึงก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.

ปุนัพพสู,ปุนัพสุ

หมายถึง[ปุนับพะสู, ปุนับพะสุ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๗ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปเรือชัยหรือหัวสำเภา, ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย ก็เรียก. (ป. ปุนพฺพสุ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ