ค้นเจอ 17 รายการ

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

เขี่ย

หมายถึงก. ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ไป เช่น เขี่ยฟุตบอล เขี่ยสวะ; ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา; สะกิด เช่น เอานิ้วเขี่ยหลัง; คุ้ยเขี่ยให้ไฟกลับลุกขึ้นอีก เช่น เขี่ยขี้ไต้ เขี่ยขี้เถ้า, เอานิ้วเคาะหรือดีดบุหรี่หรือเอาบุหรี่เคาะที่สิ่งอื่นเพื่อให้ขี้บุหรี่ร่วง เรียกว่า เขี่ยบุหรี่; ขีดไปขีดมาหรือปัดไปปัดมาเพื่อให้กระจายออก เช่น เขี่ยดินเพื่อหาของที่ตกอยู่ในดิน ไก่เขี่ยดินหาอาหาร; (ปาก) เขียนหรือวาดอย่างหวัด ๆ เช่น ช่วยเขี่ย ๆ ประวัติเรื่องนี้ให้หน่อยเถอะ ลายมือเป็นไก่เขี่ย; ปัดไปให้พ้น เช่น ถูกเขี่ยออกไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ