ค้นเจอ 22 รายการ

อะดุง

หมายถึง(กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุงอะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).

กำพต

หมายถึง[-พด] น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกำพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล. (สุธน).

เรือง,เรือง ๆ

หมายถึงว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.

คุณบท

หมายถึง[คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง”. (ศิริวิบุลกิตติ).

อวด

หมายถึงก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.

กลาย

หมายถึง[กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

จตุรงคยมก

หมายถึง[จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).

กระทง

หมายถึงน. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.

อัฐเคราะห์

หมายถึง(โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ