ค้นเจอ 457 รายการ

อากาศธาตุ

หมายถึง[-ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยายหมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทำการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.

โทษตรัย

หมายถึง[โทดสะ-] น. ประชุม ๓ แห่งโทษ คือ ดี ลม เสมหะ.

พาต

หมายถึงน. ลม. (ป., ส. วาต).

มาลุต

หมายถึง[-ลุด] น. ลม. (ป.; ส. มารุต).

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

ดิน

หมายถึงน. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, วัตถุธาตุของพื้นโลกที่ใช้สำหรับปลูกพืชผลหรือปั้นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น; แผ่นดิน เช่น เทวดาเดินดิน.

คุมธาตุ

หมายถึงก. ทำให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติสมํ่าเสมอกัน.

วาโย

หมายถึงน. ลม. (ป. วายุ, วาโย; ส. วายุ).

น้ำ

หมายถึงน. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคำ นํ้าใจ นํ้าพักนํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้า ต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสงแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.

ลม ๆ

หมายถึงว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตในขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย.

วาต,วาต-,วาตะ

หมายถึง[วาตะ-] น. ลม. (ป., ส.).

วายุ

หมายถึงน. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ