ค้นเจอ 18 รายการ

นวกภูมิ

หมายถึง[นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

กรุก

หมายถึง[กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).

อาวุโส

หมายถึงว. ที่มีอายุแก่กว่าหรือมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าเป็นต้น เช่น ข้าราชการอาวุโส ครูอาวุโส ศิลปินอาวุโส. น. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง. (ป. อาวุโส เป็นคำ อาลปนะ คือ คำที่พระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่าเรียกพระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่า หรือเป็นคำที่พระใช้เรียกคฤหัสถ์, คู่กับ ภันเต ซึ่งเป็นคำที่พระผู้น้อยหรือที่มีพรรษาน้อยกว่าเรียกพระผู้ใหญ่หรือที่มีพรรษามากกว่า หรือเป็นคำที่คฤหัสถ์ใช้เรียกพระสงฆ์).

เถร,เถร-,เถระ

หมายถึง[เถน, เถระ-] น. พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ. (ป.).

โอ้เอ้

หมายถึงน. เรียกการสวดกาพย์ลำนำเป็นทำนองอย่างที่นักเรียนสวดตามศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.

สัตตาหกรณียะ

หมายถึง[สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ