ค้นเจอ 26 รายการ

สุนทรียศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความงาม และสิ่งที่งามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ.

อาตมัน

หมายถึงน. อัตตาหรือดวงวิญญาณ ซึ่งศาสนาและปรัชญาฮินดูถือว่าเที่ยงแท้ถาวร. (ส.).

ตรรกศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่, ใช้ว่า ตรรกวิทยา ก็มี. (อ. logic).

วัชรยาน

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).

สมัยใหม่

หมายถึงน. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.

ญาณวิทยา

หมายถึง[ยานะวิดทะยา, ยานนะวิดทะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยกำเนิดลักษณะและความถูกต้องแห่งความรู้ ตลอดจนวิธีหาความรู้. (อ. epistemology).

ประสบการณ์นิยม

หมายถึง[ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้นประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).

พุทธตันตระ

หมายถึงน. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.

มนุษยศาสตร์

หมายถึง[มะนุดสะยะ-, มะนุดสาด] น. วิชาว่าด้วยคุณค่าทางจิตใจและงานของคน มีศิลปะ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศาสนา และปรัชญา. (ส. มนุษฺย + ศาสฺตฺร). (อ. humanities).

จริยศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. (อ. ethics).

ศูนยวาท

หมายถึงน. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะหรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).

สูตร

หมายถึง[สูด] น. ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ