ค้นเจอ 5,818 รายการ

สมณ,สมณ-,สมณะ

หมายถึง[สะมะนะ-] น. ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).

มรณ,มรณ-,มรณ์,มรณะ

หมายถึง[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

เบาราณ

หมายถึง(แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).

เวณะ

หมายถึงน. ช่างจักสาน. (ป.; ส. ไวณ).

สวนะ

หมายถึงน. การไหลไป. (ป.; ส. สฺรวณ).

ปัจเวกขณ์

หมายถึง[ปัดจะเวก] (แบบ) น. การเห็นลงจำเพาะ, การพิจารณา. (ป. ปจฺจเวกฺขณ).

สมีระ

หมายถึง[สะมี-] น. ลม. (ป., ส. สมีรณ).

วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์

หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).

คณนะ,คณนา

หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).

ทิพยจักษุญาณ

หมายถึงน. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).

ฤกษณะ

หมายถึง[รึกสะนะ] น. การดู, การเห็น. (ส. อีกฺษณ; ป. อิกฺขณ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ