ค้นเจอ 184 รายการ

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

ปุพพ,ปุพพ-,ปุพพะ

หมายถึง[ปุบพะ] ว. บุพ, บุพพะ. (ป.).

บุญฤทธิ์

หมายถึง[บุนยะ-] น. ความสำเร็จด้วยบุญ.

บูรพ์,บูรพะ

หมายถึง[บูน, บูระพะ] ว. บุพ.

ปุรพ,ปุรพ-

หมายถึง[ปุระพะ-] ว. บุพ, บุพพะ. (ส. ปูรฺว).

วยากรณ์

หมายถึงน. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).

ทศพร

หมายถึงน. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.

ปกรณ์

หมายถึง[ปะกอน] น. คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).

บุตร,บุตร-

หมายถึง[บุด, บุดตฺระ-] น. ลูก, ลูกชาย. (ส. ปุตฺร; ป. ปุตฺต).

บุษบง

หมายถึง[บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้.

ประกีรณกะ,ประเกียรณกะ

หมายถึง[ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).

ไวยากรณ์

หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ