ค้นเจอ 24 รายการ

กู่

หมายถึง(โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.

ขดาน

หมายถึง[ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).

คำทาย

หมายถึงน. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคำว่า อะไรเอ่ยอยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.

อาเทสนาปาฏิหาริย์

หมายถึงน. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

คามณีย์

หมายถึง[คามะนี] น. ผู้ฝึกหัดม้าหรือช้าง, หมอช้าง, นายสารถี, เช่น พลคชคณผาดผ้าย คามณีย์ทาย จำทวยทวน. (สมุทรโฆษ). (ป.).

ปฏิภาคนิมิต

หมายถึงน. “อารมณ์เทียบเคียง” คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตาหลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูปสมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).

ปั่นแปะ

หมายถึงน. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เดิมใช้อีแปะ ปัจจุบันใช้สตางค์หรือเงินเหรียญปั่นให้หมุน แล้วใช้ฝ่ามือปิดไว้ ให้ทายว่าจะออกหัวหรือก้อย, อีกอย่างหนึ่งใช้อีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญ ๒ อัน อันหนึ่งใส่ไว้ในอุ้งมือ แล้วปั่นอีกอันหนึ่งให้หมุน แล้วเอาฝ่ามือที่มีอีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญตบลงไปบนอันที่กำลังหมุน ให้ทายว่า ออกหัว ก้อย หรือกลาง ถ้าออกหัว ๒ อัน เรียกว่า ออกหัว ถ้าออกก้อย ๒ อัน เรียกว่า ออกก้อย ถ้าออกหัวอันหนึ่งก้อยอันหนึ่ง เรียกว่า ออกกลาง.

สามตา

หมายถึงน. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับหลักทั้ง ๓ เวียนไป มักใช้ทายเกี่ยวกับของหาย เรียกว่า ยามสามตา; เต้ารับไฟฟ้าที่มีรู ๓ คู่ สำหรับนำเต้าเสียบมาเสียบเพื่อนำกระแสไฟฟ้าออกไปใช้ได้ ๓ วงจร.

กษิดิ,กษีดิ

หมายถึง[กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).

ปาฏิหาริย์

หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

กะ

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

กะ-

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ