ค้นเจอ 49 รายการ

สีทันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ชื่อทะเล ๗ แห่ง อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุกับภูเขายุคนธร ๑ ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร ๑ ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก ๑ ระหว่างภูเขากรวิกกับภูเขาสุทัสนะ ๑ ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขาเนมินธร ๑ ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ ๑ ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอัสกัณ ๑. (ดู บริภัณฑ์ ๑).

อันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคำอื่น เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).

ปักขันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ปักษานดร, ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.

เขิบ

หมายถึง(ถิ่น) ว. ดอน, เขิน.

สม่ำเสมอ

หมายถึง[สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.

อุดร

หมายถึง[-ดอน] น. ทิศเหนือ ใช้ว่า ทิศอุดร; ข้างซ้าย. (ป., ส. อุตฺตร).

ลุ่ม

หมายถึงว. ตํ่า (ใช้แก่ลักษณะพื้นดินซึ่งรับนํ้าที่ไหลท่วมได้หรือนํ้าขึ้นถึง) เช่น ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม, ตรงข้ามกับ ดอน.

บิดร

หมายถึง[-ดอน] (แบบ) น. พ่อ. (ป. ปิตุ; ส. ปิตฺฤ).

โผลกเผลก

หมายถึง[โผฺลกเผฺลก] ว. กะโผลกกะเผลก, อาการเดินไม่ปรกติ คือยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า

กะโผลกกะเผลก

หมายถึง[-โผฺลก-เผฺลก] ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า

พิถยันดร

หมายถึง[พิดถะยันดอน] น. ระหว่างวิถี.

ถล,ถละ

หมายถึง[ถน, ถะละ] (แบบ) น. ที่บก, ที่ดอน. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ