ค้นเจอ 62 รายการ

ฉทึง

หมายถึง[ฉะ-] น. แม่นํ้า เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).

หัวคลองท้ายคลอง

หมายถึงว. ทั่วทั้งคลอง.

ชานคลอง

หมายถึง(กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลองขนานไปกับคลอง.

เหมืองฝาย

หมายถึงน. คลองส่งนํ้าที่มีทำนบกั้น.

จระเข้คับคลอง

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม.

จระเข้ขวางคลอง

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก.

เรือใหญ่คับคลอง

หมายถึง(สำ) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.

มิจฉาทิฐิ

หมายถึงน. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).

สาธารณสมบัติ

หมายถึงน. ทรัพย์สินส่วนรวมของประชาชน เช่น ถนนสาธารณะ แม่นํ้า ลำคลอง.

ฝั่ง

หมายถึงน. ที่ดินริมนํ้าเป็นขอบเขตทะเล แม่นํ้า ลำคลอง เป็นต้น.

ประตูรับน้ำ

หมายถึงน. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้าจากทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.

ชลธาร

หมายถึงน. ลำนํ้า, ลำคลอง, ร่องนํ้า, ห้วย, ทะเลสาบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ