ค้นเจอ 87 รายการ

ผู้รับบุตรบุญธรรม

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรของบุคคลอื่นมาเป็นบุตรของตน.

โพธิปักขิยธรรม

หมายถึงน. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมเกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ทิฐธรรม

หมายถึง(แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺธมฺม).

นิติธรรม

หมายถึงน. หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย.

นีติธรรม

หมายถึง(แบบ) น. วินัยบัญญัติ, หลักกฎหมาย, นิติธรรม. (ส.).

ปริศนาธรรม

หมายถึงน. ปริศนาในทางธรรม.

ศาลสถิตยุติธรรม

หมายถึง(กฎ; โบ) น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง.

สหธรรม

หมายถึงน. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน.

สังขตธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

อธรรม

หมายถึง[อะทำ] ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. น. ความไม่มีธรรม, ความชั่วร้าย. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ