ค้นเจอ 3,156 รายการ

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

กับ

หมายถึงเป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.

ลงความเห็น

หมายถึงก. มีความเห็นร่วมกัน.

ศัพท์บัญญัติ

หมายถึงน. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ.

ธงชาติ

หมายถึงน. ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง.

ลูกคำ

หมายถึงน. เรียกคำ ๒ คำเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคำเดิมว่า ลูกคำของคำตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคำของคำ ลูก.

ร่มเย็น

หมายถึงว. มีความสุขสบาย, ไม่มีความเดือดร้อน.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

ทยาลุ,ทยาลุก

หมายถึง(แบบ) ว. มีความเอ็นดู, มีความสงสาร. (ป., ส.).

เมินเสียเถอะ,เมินเสียเถิด

หมายถึง(สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวังอยู่เลย.

แท้ที่จริง

หมายถึงว. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.

มือใหม่

หมายถึงว. ยังไม่มีความชำนาญ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ