ค้นเจอ 180 รายการ

อโหสิกรรม

หมายถึง[อะ-] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).

อัตวินิบาตกรรม

หมายถึง[อัดตะวินิบาดตะกำ] น. การฆ่าตัวตาย.

อุตสาหกรรมศิลป์

หมายถึง[อุดสาหะกำสิน] น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือและเครื่องกล.

โอนกรรมสิทธิ์

หมายถึง(กฎ) ก. โอนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่น.

ทัฬหีกรรม

หมายถึง[ทันฮีกำ] น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ทำทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).

ทำกรรม

หมายถึงก. ทำสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทำกรรมทำเวรก็ว่า.

นาฏกรรม

หมายถึง[นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).

นิติกรรม

หมายถึง(กฎ) น. การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.

นิติกรรมอำพราง

หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมายให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.

บรทารกรรม

หมายถึง[-ทาระ-] (แบบ) น. การประพฤติผิดในเมียเขา. (ส.).

บัพพาชนียกรรม

หมายถึง[บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

ปฐมกรรม

หมายถึง[ปะถมมะกำ] น. กฎเบื้องต้นหรือข้อสำคัญ; ชื่อพิธีแบบหนึ่งที่กษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ