ค้นเจอ 371 รายการ

เขม่น

หมายถึง[ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.

ฤๅษีแปลงสาร

หมายถึงน. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม.

กระษัย

หมายถึง[-ไส] น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).

จระทก,จระเทิน

หมายถึง[จะระทก, -เทิน] (กลอน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. (ดุษฎีสังเวย).

หางว่าว

หมายถึงน. (โบ) กระดาษแผ่นยาวอย่างหางของว่าวปักเป้าสำหรับจดบัญชีบอกรายชื่อเลกครั้งโบราณ, บัญชีรายชื่อคนหรือรายการสิ่งของเป็นต้นที่ยาวยืด.

บำนาญ

หมายถึงน. เงินตอบแทนที่ได้ทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบำนาญ; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน.

กวน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตำแหน่งขุนนางในภาคอีสานสมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.

โซงโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).

จั่น

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยชนิด Cypraea moneta ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.

รางปืน

หมายถึงน. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภทประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณเป็นต้น.

ทางสามแพร่ง

หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.

กล่ำ

หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ